วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย


ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

ภาคผนวก




ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกม
การศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน
และหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ความสำคัญของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากการเล่นเกมการศึกษา เน้น
เศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่ง
การนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัย สำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้งานในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย
1. สัปดาห์แรกเด็กต้องการปรับตัวในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
เนื่องจากเป็นเกมใหม่ที่เด็กยังไม่เคยเล่น
2. ในขณะที่เด็กเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต เด็กจะเล่นด้วยวิธีการที่
แตกต่างจากคำแนะนำจากครู
3. เด็กมีความกระตือรือร้นในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูป
4. เด็กมีความสนใจในเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการทดลองตามลำดับ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตโดยรวมและรายด้าน
2. ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต
3. การเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต
สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม
เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของ
รูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม
เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตอยู่ในระดับดี โดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ สูงขึ้นในรายด้าน คือ ด้านการเรียงลำดับเป็นอันดับแรก ด้านการเปรียบเทียบเป็นระดับ
ที่สอง ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการบอกตำแหน่ง ด้านการรู้ค่ารู้จำนวน ตามลำดับ