วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่6

วันที่6 ธันวาคม 2555
การเรียนการสอน
  - อาจารย์แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10คน
  - นำกล่องที่เตรียมมา มาประดิษฐ์ตามที่อาจารย์สั่ง
  - โดยกลุ่มของข้าพเจ้าประดิษฐ์เป็นรูปหุ่นยนต์ มีชื่อว่าโบ้

หุ่นยนต์ ชื่อโลโบ้


ทำไมต้องกล่อง ?

            กล่องเครื่องดื่ม หมายถึง กล่องที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม หรืออาหารเหลวประเภทนม น้ำผลไม้ ชา กาแฟ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
         1. กล่องยูเอชที มีกระดาษ อะลูมิเนียมฟอยล์ และพลาสติก ประเภทโพลีเอททีลีน เป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่เย็น
         2. กล่องพาสเจอไรซ์ มีส่วนประกอบเป็นกระดาษ และพลาสติก เท่านั้น จึงต้องแช่เย็น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่เก็บไว้ได้นาน
            ปัจจุบันกล่องเครื่องดื่ม เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติกล่องปลอดเชื้อที่คงคุณค่า และเก็บความสดใหม่ให้กับเครื่องดื่มได้นานถึง 6 เดือนโดยไม่ต้องใส่วัตถุกันเสีย และไม่ต้องแช่เย็น จึงปลอดภัย สำหรับผู้บริโภคทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่ต้องดื่มนมเป็นประจำ เมื่อไม่ต้องแช่เย็นก็ไม่ต้อง เปลืองค่าไฟ น้ำหนัก กล่องเบายังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการขนส่ง กระดาษซึ่งเป็นวัสดุหลักในการผลิตกล่อง มาจากสวนป่า ที่ปลูกทดแทนต่อเนื่องพร้อมหมุนเวียนมาใช้ใหม่ ( renewable) จึงไม่ต้องทำลายป่าไม้จากธรรมชาติ กล่องเครื่องดื่ม จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึงการนำไปรีไซเคิล ซึ่งไม่มีส่วนใด เหลือทิ้งเป็นขยะเลย

            ในแต่ละปีกล่องเครื่องดื่มกว่า 3,000 ล้านใบ ถูกทิ้งไปโดยไม่มีใครรู้ถึงคุณค่า ว่ามันสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ดังนั้น เรามาเป็นผู้บริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บกล่องเครื่องดื่มส่งไปรีไซเคิลกันเถอะ

ประโยชน์ที่ได้จากกล่อง   
 
          กล่องเครื่องดื่มที่นำมาผลิตแผ่นไม้กระดาน จะถูกตัดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆก่อนที่จะนำมาโรยบนแผ่นเหล็ก เพื่อขึ้นรูปแผ่นตามความหนาที่ต้องการ จากนั้นจำนำเข้าเครื่องอัดร้อนที่อุณภูมิประมาณ 170 องศาเซลเซียส เพื่อหลอมพลาสติกที่มีอยู่ในกล่อง แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องอัดเย็น ทั้งนี้ พลาสติกจะเป็นตัวยึดกระดาษและอลูมิเนียมให้ติดกันโดยไม่ต้องใช้กาว หรือสารเคมีใดๆ ในขั้นตอนการผลิต คุณสมบัติของแผ่นไม้กระดานที่ผลิตจากกล่องเครื่องดื่ม
1. ผลิตจากวัสดุเหลือใช้
2. สามารถกันน้ำได้อย่างดี
3. สามารถดัดโค้งและทำเป็นรูปร่างต่างๆได้ตามความต้องการ
4. ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งต่างจาก particleboard หรือ MDF
5. ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลักษณะพื้นผิว
6. เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้อย่างดี
7. สามารถกันปลวกได้ 100% และไม่เป็นผุยผง
8. สามารถเลื่อย ตัด ดัด ติดกาว เจาะและยึดด้วยตะปูได้เช่นเดียวกับแผ่นไม้ชนิดอื่นๆ     

      นอกจากจะใช้ผลิตกระดาษรีไซเคิลแล้ว กล่องเครื่องดื่มยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น ที่รองแก้ว , ที่วางซีดี , ที่ใส่ของ , กระเป๋า และเครื่องใช้อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ด้านพลาสติกแล้ว สามารถที่จะตอบสนองความต้องการที่จะนำส่วนประกอบเหล่านี้ไปใช้ได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก

สัปดาห์ที่5

วันที่29 พฤศจิกายน 2555

 การเรียนการสอน
  -จับคู่ 2คน ออกมานำเสนอขอบข่าย หน้าชั้นเรียน
  -เขียนความรู้สึกที่เรียนในวันนี้
      
         ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542: ระดับปฐมวัย14 – 18) กล่าวถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน 9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
ผู้สืบค้น นางสาวสรัญญา เสนาบุตร


สัปดาที่4

วันที่22 พฤศจิกายน 2555
  
  การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
               ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
       กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภทจุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

ตัวอย่างกิจกรรม จับคู่ลูกหมูจุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
อุปกรณ์1. แผ่นผ้ายสำลี
2. ภาพลูกหมู
3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ)
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เล่าเรื่อง ลูกหมูสามตัวให้เด็กฟัง
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากกการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสีจุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม
อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน
ขั้นจัดกิจกรรม1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว
2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม
3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด
4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี มากกว่าหรือ น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

สัปดาห์ที่3

วันที่15 พฤศจิกายน 2555
การเรียนการสอน
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
           ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  คือ ช่วงอายุ  แรกเกิด – 6 ปี  เพราะการพัฒนาสมองของเด็กในวัยนี้จะพัฒนาไปถึง  80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่  ครูควรจะจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย  เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้ผ่านการเล่น  ครูจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  โดยผ่านการเล่น  เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการที่เหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพทางสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ



การจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมอง และการทำงานให้ประสานสัมพันธ์กันของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา  ดังนี้
สมองซีกซ้ายจะควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา  จำนวนตัวเลข  วิทยาศาสตร์  ตรรกศาสตร์  การคิดวิเคราะห์
สมองซีกขวาจะควบคุมด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี  ระยะ  มิติ  ความคิดสร้างสรรค์
ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ความคิด โดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมอง ทั้งสองซีกเข้าด้วยกันเพื่อให้มองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน  เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ดี  เป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลในผลงานชิ้นเดียวกัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงสิ่งต่าง  ๆ ดังนี้

          1.การเคลื่อนไหวของร่างกาย  การเดิน  การยืน  การวิ่ง  การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
          2.การรู้จักหาเหตุผล  ฝึกการสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่ของในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ขนาด  ปริมาณ  ตัวเลขต่าง ๆ
          3.มิติสัมพันธ์  การที่เด็กได้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของจริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเข้าใจความสัมพันธ์ของระยะ  ตำแหน่งและการมองเห็น  การสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว  เด็กจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
          4.ภาษาและการสื่อสาร  เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง  จากการพูด  การฟังการอ่านและการเขียน  การพูด  การฟังนิทาน  เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น
          5.ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้รู้จักฟังดนตรีแยกแยะเสียงต่าง ๆ ร้องเพลง  เล่นเครื่องดนตรี  เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักจังหวะดนตรี
          6.การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ  เอื้อเฟื้อ  แบ่งปันเข้าใจผู้อื่น  เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
                

      บทบาทของผู้ปกครองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

          1.เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
          2. ให้เด็กได้มีโอกาสพูดในสิ่งที่คิดและได้ลงมือกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง           

          3.ผู้ปกครองต้องรับฟังในสิ่งที่เด็กพูดด้วยความตั้งใจและพยายามเข้าใจเด็ก          
          4.ให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติเพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กได้กว้างมากขึ้น
               การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้น  องค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  อาหาร  พันธุกรรม 
สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ  การเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ  ให้เด็กได้มีโอกาสใช้ความคิดหลากหลายแบบ  เช่น  คิดแสวงหาความรู้  คิดวิเคราะห์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ผู้ปกครองและครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆเพิ่มเติม  เพื่อการพัฒนาสมองอย่างมีประสิทธิภาพ


 -เทคนิคการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม  โดยการร้องเพลง
         กลุ่มไหน  กลุ่มไหน              รีบเร็วไว หากลุ่มพลัน
         อย่ามัว.....ชักช้า                   เวลาจะไม่ทัน
         ระวังจะเดินชนกัน                 เข้ากลุ่มพลันว่องไว(ซ้ำ)

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่2

วันที่8 พ.ย.2555
สาระการเรียนรู้
           คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบมีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผนแก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็น เครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ อีกด้วย
          เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยวิชาคณิตศาสตร์จะสามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจใน ธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี
          การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

         มาตรการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้
          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน มาตรฐาน ค.ป.1.1 :เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
          สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
          สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
          สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทาง

 ค้นคว้าเพิ่มเติม
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่1

วันที่1 พ.ย.2555
การเรียนการสอน
-อาจารอธิบายความหมายเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         
            คณิต   หมายความถึง   การนับ  การคำนวณ  คณิตศาสตร์   หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณ  หรือวิชาที่ว่าด้วยการคิดเลข  ( ราชบัณฑิตยสถาน, 2542 : 214)  คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  แตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์   ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพราะ  การจัดการศึกษาปฐมวัยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ  คือการอบรมเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ให้มีความพร้อมในพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  คือ  ด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยองค์รวม และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  ได้กำหนดประสบการณ์สำคัญด้านสติปัญญา  ซึ่งผู้ศึกษาขอกล่าวเฉพาะเรื่อง  จำนวน  และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  สถานศึกษาอนุบาลสุพรรณบุรี        ได้กำหนดสภาพที่พึงประสงค์ในมาตรฐานที่ 10  ตัวบ่งชี้ที่ 1 บอกหรือแสดงค่าจำนวน 1 – 5  ความสำคัญและความจำเป็น  ต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย เพราะเป็นเรื่อง  ใกล้ ตัวเด็ก และปรากฏให้เห็นอยู่รอบตัวเด็กในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เด็กจึงควรได้รับการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ ในระดับที่สูงขึ้น และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้   เช่น  การดูวันที่ในปฏิทิน  ดูเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา    เลขที่บ้าน หมายเลขโทรศัพท์  การเลือกชมรายการในทีวีช่องต่างๆ การซื้อ การขาย ฯลฯ
             การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัด กระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
คณิตศาสตร์ประกอบด้วยส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากการคำนวณ ดังนี้
                        1. คณิตศาสตร์ คือ การเรียนรู้ในเรื่องแบบรูปและความสัมพันธ
                        2. คณิตศาสตร์ คือ วิถีทางในการคิ
  3. คณิตศาสตร์ คือ ศิลปะ มีลำดับเป็นลักษณะพิเศษ และมีความสอดคล้องภายใน
 4. คณิตศาสตร์ คือ ภาษา มีคำ จำนวนความและการใช้สัญลักษณ์
 5. คณิตศาสตร์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวันของทุก คน