การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภทจุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง
ตัวอย่างกิจกรรม จับคู่ลูกหมูจุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
อุปกรณ์1. แผ่นผ้ายสำลี
2. ภาพลูกหมู
3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ)
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากกการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสีจุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม
อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน
ขั้นจัดกิจกรรม1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว
2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม
3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด
4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภทจุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง
ตัวอย่างกิจกรรม จับคู่ลูกหมูจุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
อุปกรณ์1. แผ่นผ้ายสำลี
2. ภาพลูกหมู
3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ)
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากกการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสีจุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม
อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน
ขั้นจัดกิจกรรม1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว
2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม
3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด
4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน
การประเมินผล สังเกต1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น