วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย


ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

ภาคผนวก




ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกม
การศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน
และหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ความสำคัญของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากการเล่นเกมการศึกษา เน้น
เศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่ง
การนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัย สำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้งานในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย
1. สัปดาห์แรกเด็กต้องการปรับตัวในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
เนื่องจากเป็นเกมใหม่ที่เด็กยังไม่เคยเล่น
2. ในขณะที่เด็กเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต เด็กจะเล่นด้วยวิธีการที่
แตกต่างจากคำแนะนำจากครู
3. เด็กมีความกระตือรือร้นในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูป
4. เด็กมีความสนใจในเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการทดลองตามลำดับ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตโดยรวมและรายด้าน
2. ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต
3. การเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต
สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม
เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของ
รูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม
เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตอยู่ในระดับดี โดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ สูงขึ้นในรายด้าน คือ ด้านการเรียงลำดับเป็นอันดับแรก ด้านการเปรียบเทียบเป็นระดับ
ที่สอง ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการบอกตำแหน่ง ด้านการรู้ค่ารู้จำนวน ตามลำดับ


วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่16

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556

   อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรม  โครงการส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว

กลุ่มที่3 สอบสอน  หน่วย ธรรมชาติ(ทะเลแสนงาม)
-ใช้คำถามเด็กๆเคยไปเที่ยวทะเลไหม แล้วที่ทะเลมีสัตว์อะไรบ้าง
-ใช้นิทานเป็นสื่อในการสอน นิทานเรื่อง โลกใต้ท้องทะเล
นิทานเรื่อง โลกใต้ท้องทะเล

กลุ่มที่4  หน่วย  ผม
-ชนิดของผม

  ผมมัน   
ลักษณะผมดูลีบ ขาดชีวิตชีวา เพราะต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะผลิตไขมันหล่อเลี้ยงมากเกินไป หรือเกิดจากความชื้นในอากาศ นอกจากนี้ความมันของผม ยังอาจมาจากการใช้ครีมนวดผม หรือผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมมากเกินไป
ผมแห้ง
ลักษณะผมจะดูด้าน ขาดความเงางาม ดูแล้วรู้สึกหยาบกระด้าง เพราะหนังศีรษะผลิตไขมันมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ หรือสาเหตุจากการดัดและย้อมสีผมบ่อยเกินไป หรือตากแดดมากเกินไป ผมจึงถูกทำลายโดยแสงแดด หรือเป็นเพราะท่านสุขภาพไม่ดี ร่างกายอ่อนล้า ขาดสารอาหารทำให้ผมไม่แข็งแรงไปด้วย     
ผมแตกปลาย
เป็นอีกหนึ่งลักษณะของผมแห้ง ดูขาดชีวิตชีวาและแตกบริเวณส่วนปลายผม เกิดขึ้นเพราะเปลือกด้านนอกสุดของเส้นผม (Cuticle) เสียหายมาก จนกระทั่งแกนผม (Cortex) แห้งและแตกจากการแปรงผมอย่างรุนแรง หรือโดนความร้อนจากไดร์เป่าผม
ผมเป็นรังแค
เกิดจากหนังศีรษะที่แห้งและแตกเป็นขุยเนื่องจากความระคายเคือง การชะล้างแชมพูหรือครีมนวดผมออกไม่หมดจนเกิดการระคายเคืองหนังศีรษะ หรือเกิดจากความเครียด ทำให้ภูมิต้านทานลดลงจนเกิดเชื้อราขึ้น เชื้อรานี้จะเป็นสาเหตุของรังแคซึ่งแก้ไขได้ค่อนข้างยาก
ผมฟู
ลักษณะผมชนิดนี้จะดูแห้งขาดความชุ่มชื้น ขาดน้ำหนัก
ผมธรรมดา
ลักษณะทั่วไปจะง่ายต่อการจัดทรง มีการหล่อเลี้ยงของไขมันบนหนังศีรษะอย่างสมดุล ทำให้เส้นผมเรียบลื่น เงางาม ไม่มันจนเกินไปและยังไม่มีปัญหาเรื่องรังแคหรือหนังศีรษะแห้งด้วย
 ผมเส้นเล็ก
ลักษณะผมเป็นเส้นเล็กดูกระจัดกระจาย ไร้น้ำหนัก ผมดูลีบแนบหนังศีรษะ และจัดทรงยาก มักเกิดภาวะไฟฟ้าสถิตย์เสมอทำให้ผมดูกระจายไร้ทิศทาง

-ลักษณะของผม
-หน้าที่ของผม
-ประโยชน์ของผม
-วิธีดูแลรักษา
-อาชีพที่เกิดจากผม

สัปดาห์ที่15

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
การเรียนการสอน
กลุ่มที่2   สอบสอน หน่วย ต้นไม้
วันจันทร์  ชนิดของต้นไม้
การสอน -การนำต้นไม้มาให้เด็กๆได้เห็นภาพจริง และได้สัมผัสของจริง
ต้นไม้ที่ครูนำมาคือต้นมะขามและต้นผักชี แล้วให้เด็กๆแยกประเภท


วันอังคาร   ลักษณะของต้นไม้
การสอน - เมื่อวานเด็กๆได้รู้จักต้นอะไรบ้างค่ะ
คูณครูนำต้นมะขามและต้นผักชี มาให้เด็กๆสังเกต สิ่งที่เด็กต้องสังเกตคือ
ราก ใบ ลำต้น  แล้วบอกความแตกต่างของแต่ละต้น แล้วเขียนแผนผังแสดงการเปรียบเทียบ
วันพุธ    ส่วนประกอบของต้นไม้

การสอน   -คุณครูใช้คำถามทบทวนเด็กๆ ที่เรียนไปเมื่อวาน
คุณครูนำรูปต้นไม้ทั้งสองต้นมาให้เด็กๆดู
-เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบของต้นไม้มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
-ครูยกตัวอย่างการเรีบยเทียบต้นไม้กับคน เช่น ราก=ปาก
วันพฤหัสบดี   ประโยชน์ของต้นไม้
การสอน   -  ครูใช้นิทานเป็นสื่่อการสอนเพื่อให้เด็กๆทราบถึงประโยชน์ของต้นวัน
วันศุกร์   อันตรายจากต้นไม้
-ครูบอกอันตรายรอบตัวเด็กเกี่ยวกับต้นไม้
-ครูพาเด็กออกไปดูต้นไม้นอกห้องเรียน

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่14

วันที่ 31 มกราคม  2556
การเรียนการสอน
    กลุ่มของข้าพเจ้าออกไปสาธิตการสอน เรื่องหน่วย  ดิน
ข้าพเจ้าได้สอนเดินเรื่อง โทษของดิน   โดยจะมีการสอนดังนี้
1. ถามเด็กๆว่า ดินเหนียวสามารถปั้นเป็นรูปทรงคณิตอะไรได้บ้าง
2.แล้วเก็บข้อมูลว่าเด็กตอบว่า รูปทรงอะไรบ้าง ที่เด็กรู้จัก
3.จากนั้นสอนเรื่องโทษของดินให้แก่เด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ระมัดระวังในการปั้นดินเหนียว
4.แล้วเชื่อมโยงการสอนโดยการเล่านิทานให้เด็กฟัง


ค้นคว้าเพิ่มเติม
ความหมายของดิน

 
          พิจารณาตามลักษณะการเกิดของดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ ซึ่งปกคลุมผิวโลกบางๆ เกิดจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ รวมทั้งอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน

 พิจารณาตามลักษณะการใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก หมายถึง เทหวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้น จากส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย กับอินทรียวัตถุที่
เน่าเปื่อยผุพังอยู่ร่วมกันเป็นชิ้นบางๆห่อหุ้มผิวโลก เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะเป็นส่วนช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืชด้วย



ส่วนประกอบของดิน

ดินในแต่ละพื้นที่จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน โดยความแตกต่างนี้จะมีมากขึ้นหากมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์จากดินในทุกลักษณะ ส่วนประกอบของดินมี 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ

             แร่ธาตุ เป็นส่วนที่เกิดจากแร่และหินต่างๆ สลายตัวโดยทางเคมีกายภาพ และชีวเคมี อันเป็นแหล่งกำเนิดธาตุอาหารและควบคุมโครงสร้างของดิน

            อินทรียวัตถุ - เป็นส่วนที่เน่าเปื่อยผุพัง หรือเกิดจากการสลายตัวของเศษพืช อันจะเป็นแหล่งกำเนิดธาตุอาหารของดิน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์ดินอีกด้วย

            อากาศ เป็นช่องว่างระหว่างก้อนดินหรืออนุภาคดินซึ่งมีอากาศอยู่ โดยคิดเป็นร้อยละประมาณ 45 ของส่วนประกอบทั้งหมด

            น้ำ เป็นส่วนที่พบอยู่ในช่องว่างของดินหรืออนุภาคของดิน

            ดินที่มีคุณภาพดีและให้ผลผลิตสูงควรที่จะมีส่วนประกอบตามสัดส่วนดังนี้ แร่ธาตุร้อยละ 45, อินทรียวัตถุร้อยละ 5, อากาศร้อยละ 25 และน้ำร้อยละ 25 

 มลพิษทางดิน

    มลพิษทางดิน หมายถึงดินที่เสื่อมค่าไป จากเดิม และหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม (เกษม จันทร์แก้ว . 2530 : 162)

        ปัญหามลพิษของดิน เกิดขึ้นจากการทำลายหรืการเกิดการถดถอยของคุณภาพหรือคุณลักษณะของสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ที่เกิดจากมลสาร (Pollutant) ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ดินเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็ก สามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศ ดินจะมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งความรุนแรงนั้นขึ้น อยู่กับจะขึ้นกับว่าอนุภาคดินนั้นมีองค์ประกอบอย่างไร สภาพทางอุตุนิยมวิทยา สภาพพื้นที่ เป็นต้น ในกรณีที่คล้ายคลึงกัน หากอนุภาคดินถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำ ดินที่เป็นมลสารจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ โดยตรงทั้งทางคุณภาพและปริมาณ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาโดยอ้อมเมื่ออนุภาคดินนั้นมีธาตุอาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชน้ำ ก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำ สัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้รับผลกระทบเกิดกลิ่นเหม็นของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide, H2S)

           ในขณะเดียวกันดินเป็นแหล่งรองรับของเสีย รองรับมลสารต่างๆ จากอากาศ จากน้ำ จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ จากกิจกรรมต่างๆ ดินทำหน้าที่ในการดูดซับมลสารต่างๆ ซึ่งเปรียบได้กับการลดมลพิษ แต่หากดินทำหน้าที่ในการรับมลสารต่างๆ มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลสารที่ย่อยสลายไม่ได้ ปัญหามลพิษทางดินจะเกิดขึ้น มีผลทำให้ความสามารถของดินที่เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชลดลง ผลผลิต
ที่ได้ลดลง หรือคุณภาพของผลผลิตลดลงไม่เหมาะสมในการบริโภค เพราะมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกินกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ได้



วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่13

วันที่ 24 มกราคม 2556

 การเรียนการสอน
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
 โดยจะต้องเป็นหน่วยที่ใกล้ตัวเด็กที่สุด หรือไม่ก็อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
ชีวิตประจำวันของตัวเด็ก


         หน่วยบูรณาการในความหมายของหน่วยบูรณาการโดยทั่วไป หมายถึง การจัดนำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่หลากหลายสาขาวิชามากำหนดภายใต้หัวข้อเรื่อง (Theme) มโนทัศน์ (Concept) หรือปัญหา (Problem) ที่เกี่ยวข้องกันและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ซึ่งเป็นการผสมผสานอย่างกลมกลืนและสมดุล นำไปสู่การจัดกิจกรรมที่หลากหลายทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสาระที่ควรเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์สำคัญ ทำให้เกิดการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ
หน่วยการเรียนรู้ระดับการศึกษาปฐมวัย

         การจัดหน่วยการเรียนรู้ระดับการศึกษาปฐมวัยนั้นจะกำหนดให้สอดคล้องตามสาระและประสบการณ์สำคัญที่เสนอไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ดังนี้
 1. 1. ตัวเด็ก 1. ด้านร่างกาย
- ร่างกายและการดูแล การทำงาน ประสานสัมพันธ์การเคลื่อนไหว
- ประสาทสัมผัส การทรงตัว กล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่
- สุขนิสัย ความปลอดภัย การรักษาสุขภาพ ความปลอดภัย
- การช่วยเหลือตนเอง สุขนิสัย
- การแสดงความคิด อนามัยส่วนตัว
- ความรู้สึก มารยาท อนามัยส่วนรวม
- การอยู่ร่วมกับผู้อื่น 2. ด้านอารมณ์ จิตใจ
2. บุคคลและสถานที่แวดล้อม สุขภาพจิต
- ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด สุนทรียภาพ
- ชุมชน คุณธรรมพื้นฐาน
- สถานศึกษา จริยธรรม
- วันสำคัญ การแสดงออกทางอารมณ์
- อาชีพ 3. ด้านสังคม
- สถานที่ในสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือตนเอง
- วัฒนธรรม, ประเพณี การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ประวัติความเป็นมาของชุมชน รักความเป็นไทย
- เรื่องราวท้องถิ่น ความพอเพียง
3. ธรรมชาติรอบตัว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- สิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต ทักษะพื้นฐานชีวิต
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติ 4. ด้านสติปัญญา
- สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คิดแก้ปัญหา
- การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คิดสร้างสรรค์
4. สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ใฝ่เรียนรู้
- อาหาร, น้ำ, อากาศ ใช้ภาษาในการสื่อสาร
- เครื่องมือเครื่องใช้ ทักษะพื้นฐานการเรียน
- การติดต่อสื่อสาร
- การเดินทางขนส่ง
- คณิต, วิทย์ในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่12

วันที่17 มกราคม 2556


              คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ซึ่งคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็ก3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
          1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้าและเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
          2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนักและปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
          3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
          คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
          1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
          2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา          
          3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
          4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรู้ของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตำแหน่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
          คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
          1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
          2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่มาตรฐาน สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
          3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางสามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่งทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
          4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
          5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล ในรูปแผนภูมิอย่างง่าย



                             

สัปดาห์ที่11

วันที่10 มกราคม 2556
      การเรียนการสอน

การทำ Mind mapping การแตกความคิดจาดเนื้อหา
    พัฒนาการของเด็กแรกเกิดถึง6ปี
-เด็กแรกเกิด ถึง 6ปี  ใช้ประสาทสัมผัส
-เด็ก 2-4 ปี     เริ่มพูดได้
-เด็ก 4-6 ปี     มีเหตุมีผล
 
   แตกสาระ mind mapping ออกมาจากการคิดวิเคราะห์
-ลงมือกระทำกับวัตถุเป็นวิธีการเรียนรู้
-ประสบการณ์สำคัญ เป็นตัวที่เด็กลงมือกระทำ

ให้เด็กลงมือกระทำ

           มาตรการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้
          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน มาตรฐาน ค.ป.1.1 :เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
          สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
          สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
          สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ