วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่14

วันที่ 31 มกราคม  2556
การเรียนการสอน
    กลุ่มของข้าพเจ้าออกไปสาธิตการสอน เรื่องหน่วย  ดิน
ข้าพเจ้าได้สอนเดินเรื่อง โทษของดิน   โดยจะมีการสอนดังนี้
1. ถามเด็กๆว่า ดินเหนียวสามารถปั้นเป็นรูปทรงคณิตอะไรได้บ้าง
2.แล้วเก็บข้อมูลว่าเด็กตอบว่า รูปทรงอะไรบ้าง ที่เด็กรู้จัก
3.จากนั้นสอนเรื่องโทษของดินให้แก่เด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ระมัดระวังในการปั้นดินเหนียว
4.แล้วเชื่อมโยงการสอนโดยการเล่านิทานให้เด็กฟัง


ค้นคว้าเพิ่มเติม
ความหมายของดิน

 
          พิจารณาตามลักษณะการเกิดของดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ ซึ่งปกคลุมผิวโลกบางๆ เกิดจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ รวมทั้งอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน

 พิจารณาตามลักษณะการใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก หมายถึง เทหวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้น จากส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย กับอินทรียวัตถุที่
เน่าเปื่อยผุพังอยู่ร่วมกันเป็นชิ้นบางๆห่อหุ้มผิวโลก เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะเป็นส่วนช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืชด้วย



ส่วนประกอบของดิน

ดินในแต่ละพื้นที่จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน โดยความแตกต่างนี้จะมีมากขึ้นหากมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์จากดินในทุกลักษณะ ส่วนประกอบของดินมี 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ

             แร่ธาตุ เป็นส่วนที่เกิดจากแร่และหินต่างๆ สลายตัวโดยทางเคมีกายภาพ และชีวเคมี อันเป็นแหล่งกำเนิดธาตุอาหารและควบคุมโครงสร้างของดิน

            อินทรียวัตถุ - เป็นส่วนที่เน่าเปื่อยผุพัง หรือเกิดจากการสลายตัวของเศษพืช อันจะเป็นแหล่งกำเนิดธาตุอาหารของดิน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์ดินอีกด้วย

            อากาศ เป็นช่องว่างระหว่างก้อนดินหรืออนุภาคดินซึ่งมีอากาศอยู่ โดยคิดเป็นร้อยละประมาณ 45 ของส่วนประกอบทั้งหมด

            น้ำ เป็นส่วนที่พบอยู่ในช่องว่างของดินหรืออนุภาคของดิน

            ดินที่มีคุณภาพดีและให้ผลผลิตสูงควรที่จะมีส่วนประกอบตามสัดส่วนดังนี้ แร่ธาตุร้อยละ 45, อินทรียวัตถุร้อยละ 5, อากาศร้อยละ 25 และน้ำร้อยละ 25 

 มลพิษทางดิน

    มลพิษทางดิน หมายถึงดินที่เสื่อมค่าไป จากเดิม และหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม (เกษม จันทร์แก้ว . 2530 : 162)

        ปัญหามลพิษของดิน เกิดขึ้นจากการทำลายหรืการเกิดการถดถอยของคุณภาพหรือคุณลักษณะของสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ที่เกิดจากมลสาร (Pollutant) ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ดินเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็ก สามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศ ดินจะมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งความรุนแรงนั้นขึ้น อยู่กับจะขึ้นกับว่าอนุภาคดินนั้นมีองค์ประกอบอย่างไร สภาพทางอุตุนิยมวิทยา สภาพพื้นที่ เป็นต้น ในกรณีที่คล้ายคลึงกัน หากอนุภาคดินถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำ ดินที่เป็นมลสารจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ โดยตรงทั้งทางคุณภาพและปริมาณ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาโดยอ้อมเมื่ออนุภาคดินนั้นมีธาตุอาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชน้ำ ก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำ สัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้รับผลกระทบเกิดกลิ่นเหม็นของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide, H2S)

           ในขณะเดียวกันดินเป็นแหล่งรองรับของเสีย รองรับมลสารต่างๆ จากอากาศ จากน้ำ จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ จากกิจกรรมต่างๆ ดินทำหน้าที่ในการดูดซับมลสารต่างๆ ซึ่งเปรียบได้กับการลดมลพิษ แต่หากดินทำหน้าที่ในการรับมลสารต่างๆ มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลสารที่ย่อยสลายไม่ได้ ปัญหามลพิษทางดินจะเกิดขึ้น มีผลทำให้ความสามารถของดินที่เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชลดลง ผลผลิต
ที่ได้ลดลง หรือคุณภาพของผลผลิตลดลงไม่เหมาะสมในการบริโภค เพราะมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกินกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น